เมนู

อรรถกถาอุปวานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุปวานสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิชฺชายนฺตกโร โหติ ความว่า บุคคลทำที่สุดวัฏทุกข์ได้
ด้วยวิชชา คือทำทางวัฏทุกข์ทั้งสิ้นให้ขาดเสียสิ้นตั้งอยู่. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า สอุปาทาโน แปลว่า เป็นผู้ยังมีความยึดถืออยู่. บทว่า
อนฺตกโร อภวิสฺส คือบุคคลจักทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์อยู่ได้. บทว่า จรณ-
สมฺปนฺโน
คือถึงพร้อมแล้วด้วยจรณธรรม 15 ประเภท. บทว่า ยถาภูตํ
ชานํ ปสฺสํ อนฺตกโร โหติ
ความว่า บุคคลรู้เห็นด้วยมรรคปัญญาตาม
ความเป็นจริงแล้ว ชื่อว่า เป็นผู้ทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น
พระสารีบุตรเถระ จึงให้ปัญหาจบลงด้วยอดธรรมคือพระอรหัต.
จบอรรถกถาอุปวานสูตรที่ 5

6. อายาจนสูตร


ว่าด้วยบริษัท 4 ปรารถนา


[176] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ
พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นตราชู เป็นประมาณ
แห่งภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อ
ปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระเขมาภิกษุณี

และพระอุบลวรรณาภิกษุณีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขมาภิกษุณีและอุบล-
วรรณาภิกษุณีนี้เป็นตราชู เป็นประมาณแห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนา
อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นตราชู
เป็นประมาณแห่งอุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็น
เช่นนางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดานี้เป็นตราชู
เป็นประมาทของอุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา.
จบอายาจนสูตรที่ 6
อายาจนสูตรที่ 6 พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาเอกนิบาต
ในหนหลัง.

7. ราหุลสูตร


ว่าด้วยตรัสสอนพระราหุลให้มนสิการธาตุกรรมฐาน


[177] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล
ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี ปฐวีธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุ
เท่านั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า